การคำนวณหาค่า Ksoil จากข้อมูลดินโดยใช้สมการอย่างง่าย

posted in: Daily Post

การคำนวณหาค่า Ksoil จากข้อมูลดินโดยใช้สมการอย่างง่าย

การคำนวณหาค่า Ksoil
ก่อนอื่นผมขอทำความเข้าให้ให้ตรงกันเสียก่อนนะครับว่าเหตุใดเราจึงต้องทำการคำนวณหาค่า Ksoil จากข้อมูลดินโดยใช้สมการอย่างง่าย เป็นเพราะว่าในทางทฤษฎีนั้นเรื่องทาง GEOTECHNICAL นั้นเป็นอะไรที่ซับซ้อนพอสมควร การที่จะทำการคำนวณค่าใดๆ จากดินให้แม่นยำถูกต้อง 100% นั้นทำได้ยากมากๆ เราต้องอาศัยข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลเชิงทดสอบต่างๆ ประกอบมากมายในการคำนวณ สุดท้ายแล้วค่าที่ได้ออกมาก็ไม่สามารถที่จะมีใครตัดสินได้ว่าค่าๆ นั้นมีความถูกต้องสักเท่าใด ซึ่งในการจำลองและวิเคราะห์โครงสร้างที่เป็น SOIL SPRING นั้นต้องถือว่าเป็นขั้นตอนการคำนวณในระดับที่ ADVANCE สูงกว่าขั้นตอนการวิเคราะห์ที่เป็นพื้นฐานค่อนข้างมากนะครับ (ดูรูปประกอบ) ดังนั้นค่าคุณสมบัติต่างๆ ของดินที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์นี้จึงถือว่ามีความสำคัญมากครับ
เราจึงต้องมีหลักเกณฑ์ในการคำนวณออกแบบ หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า DESIGN CRITERIA ที่แน่นอนและถือว่าแม่นยำพอสมควร ซึ่งค่าๆ นี้อาจผ่านกระบวนการวิเคราะห์ต่างๆ และบางครั้งในการทำสมการๆ หนึ่งขึ้นมาคำนวณค่าใดๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับงานดินบางครั้งก็ต้องอาศัยข้อมูลเชิงประสบการณ์ของวิศวกรผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านนั้นๆ ประกอบด้วย (EMPIRICAL FORMULA)
วิธีการอย่างง่ายจึงถูกแนะนำแก่วิศวกรโครงสร้าง ทั้งนี้ก็ต้องเน้นยำนะครับว่าวิธีการนี้เป็นวิธีการอย่างง่ายจริงๆ คือ หากมีเวลาและทรัพยากรมากเพียงพอและเราทำการคำนวณหาค่าๆ นี้ก็คำตอบที่ได้ออกมาก็จะมีความแม่นยำมากกว่านี้อย่างแน่นอนครับ
ดังนั้นผมจึงขอแนะนำแก่เพื่อนๆ วิศวกรทุกๆ ท่านว่าให้นำสมการอย่างง่ายนี้ไปใช้ได้ก็ต่อเมื่อข้อมูลที่มีนั้นค่อนข้างที่จะมีอยุ่อย่างจำกัด และ ถือว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุดเท่าที่เราจะมีในมือได้ โดยหากว่าเพื่อนๆ มีข้อมูลอื่นๆ ที่อาจได้มาจากการทดสอบ หรือ วิธีการอื่นๆ ที่น่าเชื่อถือกว่านี้ก็ขอแนะนำให้ใช้ข้อมูลนั้นๆ โดยพิจารณาใช้ข้อมูลจากแหล่งของข้อมูลซึ่งมีที่มาที่ไปที่น่าเชื่อถือกว่าก็จะเป็นการดีที่สุดนะครับ
โดยไม่ว่าจะเป็นสมการที่จะให้ค่าคำตอบใดๆ สิ่งที่แนะนำให้ทำก่อนเสมอ คือ ให้ทำการทดสอบเพื่อหาคุณสมบัติต่างๆ ของดินก่อนนะครับ โดยในการคำนวณนั้นผมขอแบ่งออกเป็น 2 ส่วนนะครับ
(1) ค่า Kv หรือ ค่า STIFFNESS ของดินในแนวดิ่ง
Kv = Pb / ∆
เมื่อ
P คือ BEARING PRESSURE ที่ได้จากการทำ PLATE LOAD TEST ในสนาม
∆ คือ ค่า SETTLEMENT ที่เก็บได้จากการทดสอบ PLATE LOAD TEST ในสนาม
คำถามสำคัญก็คือ หากไม่มี หรือ ไม่สามารถทำการทดสอบค่าๆ นี้ละ จะทำอย่างไร ?
เราก็ยังพอที่จะประมาณการค่าๆ นี้ได้อยู่นะครับ โดยให้ใช้อัตราส่วนของค่าๆ นี้จากค่า Kh หรือ ค่า STIFFNESS ของดินในแนวราบ ณ ที่ตำแหน่งปลายล่างสุดของเสาเข็ม
โดยที่ค่า Kv นี้จะมีค่าโดยเฉลี่ยประมาณอยู่ระหว่าง 1.333 ถึง 2.00 ของค่า Kh หรืออาจเขียนได้ว่าเท่ากับ
Kv = 2Kh ถึง 4/3Kh
(2) ค่า Kh หรือ ค่า STIFFNESS ของดินในแนวราบ
สำหรับดินที่มีลักษณะเป็นดินอ่อน เช่น ดินเหนียว เป็นต้น
Kh = (Su FACTOR) Su / Ø
เมื่อ
Ø คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม
Su คือ ค่า UNDRAINED SHEAR STRENGTH ที่ได้จากการทดสอบคุณสมบัติของดิน
Su FACTOR ค่าๆ นี้จะเป็นค่าที่ขึ้นกับลักษณะความแน่นอนของคุณสมบัติในดินที่ถือว่าเป็นชั้นดินอ่อนเป็นหลัก ซึ่งจริงๆ แล้วจะรวมไปถึงขั้นตอนและวิธีในการทำงานด้วย โดยยิ่งดินมีความสม่ำเสมอและมีค่าคุณสมบัติที่ไม่แปรเปลี่ยนมากนัก งานมีมาตรฐานในการทำงานที่สูง ค่าๆ นี้ก็จะยิ่งมีค่าสูงตามไปด้วย ซึ่งตามที่ท่าน ดร สมพร ได้ให้คำอธิบายไว้ ท่านได้ระบุว่าในตอนที่ท่านได้ทำงานออกแบบในโครงการดอนเมืองโทลล์เวย์ท่านได้ใช้ค่า FACTOR นี้เท่ากับ 200 เพราะโครงการมีมาตรฐานในการควบคุมงานอย่างดี ดินเองมีคุณสมบัติที่ไม่ได้แย่อะไร ซึ่งหากเป็นข้อมูลของดินทั่วๆ ไป มาตรฐานในการทำงานก็ถือว่าทั่วๆ ไป ไม่ได้สูงอะไรมากมายนักท่านก็แนะนำให้ใช้ค่าๆ นี้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 67 นะครับ
สำหรับดินที่มีลักษณะค่อนข้างที่จะมีความแข็งแรง เช่น ดินเหนียวแข็ง ดินทราย เป็นต้น
Kh = (N FACTOR) N / Ø
เมื่อ
Ø คือ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม
N คือ ค่า SPT ที่ได้จากการทดสอบคุณสมบัติของดิน
N FACTOR ค่าๆ นี้จะเป็นค่าที่ขึ้นกับลักษณะความแน่นอนของคุณสมบัติในดินที่ถือว่าเป็นชั้นดินแข็ง ซึ่งจริงๆ แล้วที่ชั้นดินนี้มักไม่ได้รับผลกระทบอะไรมากนักจากการทำงานที่ด้านบนผิวดิน รวมไปถึงว่าชั้นดินนี้จะมีคุณสมบัติที่ไม่แปรเปลี่ยนมากนักด้วยนะครับ ดังนั้นท่าน ดร สมพร ได้แนะนำให้ใช้ค่า FACTOR นี้เท่ากับ 45 นะครับ
ในวันพรู่งนี้ผมจะทำการคำนวณหาค่าๆ นี้จาก BORING LOG จริงๆ เพื่อเป็นการสาธิตให้แก่เพื่อนๆ ได้ดูกันนะครับ ยังไงหากเพื่อนๆ ท่านใดสนใจก็สามารถติดตามกันได้ครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
BSP-Bhumisiam
คุณภาพทีมงานช่างมาตรฐาน
คุณภาพเครื่องจักรมาตรฐาน
งานเอกสารตรวจสอบเชื่อถือได้
คุณภาพเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดผนังกำแพง ไม่ทำให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile) สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
ติดต่อ สายด่วน โทร 081-634-6586

เสาเข็มสปันไมโครไพล์แท้ ฐานรากในพื้นที่จำกัด ตอบโจทย์การก่อสร้างใหม่ และงานต่อเติม ในพื้นที่จำกัด วิศวกรมั่นใจนิยมใช้เสาเข็ม มาตรฐาน มอก. 397-2524 และ การตอกมีมาตรฐาน ISO 9001 โดย ภูมิสยามครับ

สปันไมโครไพล์แท้ มาตรฐาน มอก. ภูมิสยาม เสาเข็มที่รองรับงานต่อเติมเพื่อป้องกันการทรุด ตามที่วิศวกรออกแบบ จะนิยมใช้เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. 397-2524 และ การตอกที่เป็นไปตาม มาตรฐาน ISO 9001 เสาเข็มภูมิสยามฯ ตอบโจทย์ครับ

สปันไมโครไพล์แท้ภูมิสยาม พร้อมบริการทุกการก่อสร้างเสาเข็มเรามีหลายขนาด เริ่มตั้งแต่เหมาะสำหรับโครงสร้างชั้นเดียว รับน้ำหนัก 15 ตัน/ต้น จนถึงการรับน้ำหนักมากถึง 50 ตัน/ต้น (การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่)

สปันไมโครไพล์แท้:

1. แบบสี่เหลี่ยม S18x18 cm. หรือ 22 cm.
แนวทแยง รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. แบบกลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. แบบกลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. แบบกลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

ภาพตัวอย่างการตอกเสาเข็ม https://bit.ly/2xc1MFJ

ขอแนะนำเสาเข็มมาตรฐาน มอก. 397-2524 โดยภูมิสยาม ซึ่งได้ ISO 9001:2015 ทั้งกระบวนการตอกและการผลิต พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ ตาม ตย. วีดีโอ https://youtu.be/iJr3dLtYAuA หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

Bhumisiam ภูมิสยาม
ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
1) ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐาน ISO 9001:2015
2) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 UKAS ภายใต้การดูแลของ อังกฤษ
3) ได้รับมาตรฐาน ISO 9001:2015 NAC ภายใต้การดูแลของ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
4) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
5) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
6) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
7) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
8) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
9) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
10) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC

เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
☎ 082-790-1447
☎ 082-790-1448
☎ 082-790-1449
☎ 081-634-6586

? www.micro-pile.com
? www.bhumisiam.com

#ไมโครไพล์
#สปันไมโครไพล์
#เสาเข็มไมโครไพล์
#เสาเข็มสปันไมโครไพล์
#เสาเข็ม
#ตอกเสาเข็ม
#micropile
#spunmicropile
#microspunpile
#spunpile
#microspun