ข้อกำหนดในการออกแบบ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันี้ผมมีเรื่องที่จะมาแชร์ประสบการณ์กันกับเพื่อนๆ ประการหนึ่งที่หากดูเผินๆ แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องเป็นราวตามปกติที่วิศวกรโครงสร้างอย่างเราๆ ต้องพบต้องเจอ แต่ ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนหลายๆ ท่านที่กำลังเริ่มต้นสนใจที่จะทำงานในสายงานของการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างนะครับ

เรื่องนี้สืบเนื่องหลังจากที่ในวันนี้ผมเดินทางไปพบลูกค้ากับสถาปนิกคู่ใจของผมตลอดทั้งวัน พอกลับมาก็ด้วยความเหนื่อยล้าทั้งวันก็ตั้งใจจะว่าจะนั่งทำแต่งานเอกสารเบาๆ ให้สบายๆ จะได้ไม่เหน็ดเหนื่อยอะไรมากมายเพราะวันนี้ก็เหนื่อยมาทั้งวันแล้ว สักพักนึงผมก็ได้รับโทรศัพท์สายหนึ่งจากเจ้าหน้าที่เขตท่านหนึ่งที่เพิ่งเคยได้ร่วมงานกันเป็นครั้งแรก มีใจความของประโยคสนทนาดังนี้ คือ เจ้าหน้าที่ท่านนี้ต้องการให้ผมเข้าไปที่เขตเพื่อดำเนินการแก้ไขรายการคำนวณที่ได้ยื่นขออนุญาตไป เนื่องจากเอกสารที่เคยยื่นไปก่อนหน้านี้ไม่ถูกต้อง ผมก็ได้เอ่ยถามไปว่าเอกสารนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ? เจ้าหน้าที่ท่านนี้ก็ได้ตอบมาว่าในรายการำคำนวณงาน คสล ของผมระบุว่าได้ใช้ทั้งวิธีการออกแบบงาน คสล วิธีหน่วยแรงใช้งาน และ วิธีกำลัง ในการคำนวณ ซึ่งไม่ถูกต้อง

ผมก็เลยถึงบางอ้อว่าเจ้าหน้าที่ท่านนี้ไม่เข้าใจประเด็นเรื่องนี้อย่างถูกต้องนัก ผมเลยได้ตอบเจ้าหน้าที่ท่านนี้ไปว่า ในตอนที่เราเรียนหนังสือ เรามักจะได้ยินท่านอาจารย์พูดใช่หรือไม่ครับ ว่าในการออกแบบโครงการก่อสร้างหนึ่งๆ นั้นให้เราเลือกวิธีในการออกแบบเพียงวิธีการเดียวกันตลอดทั้งโครงการ ใช่หรือไม่ ? เค้าถึงได้ระบุว่า การที่ผมกำหนดวิธีในการออกแบบทั้ง 2 วิธี ในการออกแบบนั้นไม่ถูกต้อง

เค้าก็ตอบว่าใช่ครับ ผมจึงตอบกลับไปว่า ที่เค้าเข้าใจนั้นถูกต้องเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นครับ ที่ท่านอาจารย์ระบุแบบนั้นเป็นเพราะว่าท่านกังวลว่าเราจะใช้ทั้งสองวิธีปนกันจนเกิดความสับสนในการออกแบบ ซึ่งข้อห้ามเรื่องการออกแบบที่มิให้นำมาใช้ปนกันนั้นส่วนใหญ่จะหมายถึงในระบบโครงสร้างหนึ่งๆ เท่านั้น เช่น เมื่อเราออกแบบให้โครงสร้างรับแรงแนวดิ่ง และ แนวราบ ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องการออกแบบคนละระบบแรง แต่ โครงสร้างที่เราสนใจก็ยังคงเป็นระบบเดียวกัน โดยที่ระบบโครงสร้างที่จะเกี่ยวข้องกันจะได้แก่ คาน เสา ตอม่อ และ ฐานราก ดังนั้นหากจะทำการออกแบบโครงสร้างดังกล่าว ก็ควรที่จะใช้หลักการในการออกแบบเดียวกัน เพราะ นอกจากสูตรหรือสมการในการออกแบบที่แตกต่างกันแล้ว จะมีเรื่องอื่นๆ ที่แตกต่างกันด้วย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง LOAD CASE ที่พิจารณาในการออกแบบ เรื่อง PATTERN LOAD ที่ CODE ของแต่ละวิธีการแนะนำให้ใช้ เป้นต้นนะครับ

ในรายการคำนวณของผมจะระบุไว้อย่างชัดเจนนะครับว่าวิธีหน่วยแรงที่ผมใช้นั้นจะใช้ในการออกแบบโครงสร้างใดบ้าง ซึ่งก็คือ ระบบแผ่นพื้นหล่อในที่แบบวางบนคาน (CAST IN PLACE RC SLAB ON BEAM) สาเหตุที่ผมใช้วิธีหน่วยแรงใช้งานในการออกแบบตัวแผ่นพื้นก็เพราะว่า แผ่นพื้น ถือว่าเป็นโครงสร้างรอง (MINOR STRUCTURE) มิได้เป็นโครงสร้างหลัก (MAJOR STRUCTURE) หากโครงสร้างส่วนนี้เกิดการวิบัติไปก็มิได้ส่งผลทำให้เสถียรภาพของโครงสร้างลดลงไปแต่อย่างใด

ในหลายๆ ครั้งเมื่อต้องทำการออกแบบแผ่นพื้นเรามักจะพบว่าในแผ่นพื้นมักจะต้องการเหล็กเสริมที่ค่อนข้างน้อย และ บ่อยครั้งเราจะพบว่าการออกแบบมักจะถูกควบคุมด้วยเหล็กเสริมกันร้าว (TEMPERATURE STEEL) เราจึงมักเลือกเหล็กที่นำมาเสริมเป็นเหล็กเส้นกลม (ROUND BAR) ซึ่งวิธีการออกแบบโดยวิธีกำลังนั้นจะมีข้อกำหนดว่าเราไม่สามารถที่จะใช้เหล็กเส้นกลมในการคำนวณได้เพราะว่าวิธีกำลังนั้นเป็นการพิจารณาโครงสร้างที่สภาวะประลัย ซึ่งที่สภาวะนี้เหล็กเส้นกลมจะมีแรงยึดเหนี่ยวต่อคอนกรีตที่มีค่าไม่เพียงพอนั่นเองครับ ใน CODE การออกแบบโดยวิธีกำลังจึงได้แนะนำให้ใช้แต่เพียงเหล็กข้ออ้อยในการออกแบบเท่านั้น

อย่างไรก็ดีในการออกแบบไม่ว่าจะโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน หรือ วิธีกำลังก็แล้วแต่ ผมอยากที่จะให้คำแนะนำกับเพื่อนๆ ที่กำลังสนใจจะทำงานออกแบบว่าสูตรต่างๆ ที่ใช้การคำนวณออกแบบของเราควรที่จะต้องมีการอ้างอิงที่มา ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นไปตามมาตรฐาน หรือ ข้อกำหนดในการออกแบบของแต่ละประเทศ ซึ่งข้อกาหนดเหล่านี้ถูกจัดทำขึ้นโดยองค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการออกแบบโดยอาจแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ

(A) ข้อกำหนดที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย
ข้อกำหนดที่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายเป็นข้อบังคับที่มีไว้เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยของสาธารณชนซึ่งผู้ออกแบบจะต้องปฏิบัติตาม มิฉะนั้นจะมีความผิดตามกฎหมาย ข้อกำหนดประเภทนี้จะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ สาหรับประเทศไทยมีพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มีกฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) กฎกระทรวง ฉบับที่ 49 (พ.ศ. 2540) และข้อกำหนดในแต่ละท้องที่ เช่น ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร หรือเทศบัญญัติ และ มาตรฐานของกรมโยธาธิการและผังเมือง

(B) ข้อกำหนดที่แนะนาโดยองค์กรวิชาชีพ
สาหรับองค์กรวิชาชีพในประเทศไทยที่ออกข้อกาหนดทางด้านวิศวกรรม คือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.)โดยข้อกำหนดที่เกี่ยวกับคอนกรีตเสริมเหล็กจะมีสองฉบับคือ

(B.1) มาตรฐานสาหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีหน่วยแรงใช้งาน (ว.ส.ท. 1007-34)

(B.2) มาตรฐานสาหรับอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กโดยวิธีกาลัง (ว.ส.ท. 1008-38)

โดยข้อกาหนดที่ใช้ข้างต้นจะมีการอ้างอิงมาจาก BUILDING CODE REQUIREMENTS FOR STRUCTURAL CONCRETE AND COMMENTARY ของ AMERICAN CONCRETE INSTITUTE หรือที่พวกเราคุ้นชื่อกันว่า ACI นะครับ

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ และ การก่อสร้างอาคารโครงสร้างคอนกรีตจะอยู่ในความดูแลของ ACI COMMITEE 318 ซึ่งจะพัฒนาปรับปรุงมาตรฐานออกมาเป็นระยะๆ คือ เลขสองตัวสุดท้ายคือปีที่เริ่มใช้ เช่น ACI318-89 จะมีการเริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1989 ซึ่งจะตรงกับของ ว.ส.ท. 1008-38 จากนั้นก็จะเป็น ACI 318-95 จนมาถึง ACI 318-05 ในปัจจุบันนั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN


บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.

บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม

รายการเสาเข็มภูมิสยาม

1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.

รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น

2. กลม Dia 21 cm.

รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น

3. กลม Dia 25 cm.

รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น

4. กลม Dia 30 cm.

รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น

(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)

☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586

? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com