วิธีการตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์(Spun Micro Pile)

posted in: Daily Post

สวัสดีครับ วันนี้ก็มาพบกับ Mr.Spunman กันอีกเช่นเคย วันนี้ จะพูดถึงวิธีการตอกเสาเข็มกันนะครับ ซึ่งขั้นตอนจะมีดังนี้เลยครับ

เสาเข็มต่อเติมบ้าน-spun-micropile-สปันไมโครไพล์-icon-3เสาเข็มต่อเติมโรงงาน-micropile-ไมโครไพล์-สปันไมโครไพล์-icon-1

  1. ย้ายปั้นจั่นให้เข้าที่ ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่ง
    เพื่อหาจุดศูนย์กลาง ให้ได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง Cap Pile กับ หมุดศูนย์ตามที่กำหนดไว้
  2. นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้
  3. ตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับมาตรวัดระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน X และ แกน Y
    โดยจะทำการทดสอบกับตัวเข็มสปันไมโครไพล์
  4. ทดสอบกับตัวปั้นจั่น เพื่อให้แน่ใจว่าได้แนวดิ่งที่ถูกต้องตามที่ต้องการแล้ว และหลังจากนั้นจึงลงมือตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์
    ท่อนแรกลงไปในดินจนเกือบมิด แล้วจึงนำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนที่ 2 มาจรดกับเสาเข็มท่อนแรกในแนวตรง แล้วจึงทดสอบ
    ด้วยมาตรวัดระดับน้ำอีกครั้ง
  5. หลังจากที่นำเสาท่อนที่ 2 วางจนได้แนวดิ่งที่ตรงกันกับเสาท่อนแรกแล้วใช้ Cap Pile เป็นตัวบังคับไม่ให้เสาท่อนที่ 2
    เคลื่อนออกจากตำแหน่งแล้วจึงทำการลงมือเชื่อมต่อเหล็กที่ขอบของหัวเสาเข็ม ให้ติดกันโดยเสาเข็มที่นำมาเชื่อมต่อ
    กันจะต้องมีลักษณะและขนาดของพื้นที่หน้าตัด เท่ากัน ลักษณะการเชื่อมจะเชื่อมเต็มรอบหัวเสาเข็ม ให้เสาทั้งสอง
    ท่อนต่อกันสนิทและเป็นเส้นแนวตรง จากนั้นจึงใช้ปั้นจั่้นตอกลงไปต่อ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ความลึก
    ตามความเป็นจริง หรือตามที่กำหนดไว้
  6. การตอกเสาเข็มให้ลึกถึงระดับการจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยได้ผลตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น
    มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้น
    ใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน่อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย
    แสดงว่าความแน่นของดินที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่า
    จำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอก
    จะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้น ใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นต้องตอกอีก เพราะอาจทำให้
    เสาเข็มนั้นแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นนั้น วิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด
    ของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้นๆ ด้วยBSP-Bhumisiam
    ผู้ผลิตรายแรก Spun MicroPile
    1) ได้รับมาตรฐาน มอก. 397-2524 เสาเข็ม Spun MicroPile Dia 21, 25, 30 cm.
    2) ผู้ผลิต Spun MicroPile ที่ได้รับ Endorsed Brand
    รับรองคุณภาพมาตรฐานจาก SCG
    3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun MicroPile
    4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun MicroPile
    5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมัน
    6) ผู้ผลิต Spun MicroPile แบบ “สี่เหลี่ยม”
    7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPACเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
    1) สามารถทำงานในที่แคบได้
    2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
    3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
    4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินแต่ละพื้นที่
    5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย

    สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็มสปันไมโครไพล์ มาตรฐาน มอก. โทร
    081-634-6586
    082-790-1447
    082-790-1448
    082-790-1449