TRANSPORTATION ENGINEERING – ANTI SKID SURFACE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน

วันนี้ผมจะขอมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง TRANSPORTATION ENGINEERING กันบ้างนะครับ นั่นก็คือเรื่องวัสดุปิดผิวที่จะต้องถือว่าเป็นวัสดุปิดผิวที่ใช้ในงานปิดผิวของงานทางประเภทหนึ่งนะครับ นั่นก็คือ ANTI SKID SURFACE นั่นเองครับ

เพื่อนๆ อาจเคยมีโอกาสเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิจากถนนเส้นมอเตอร์เวย์ และ บนถนนเพื่อนๆ อาจจะเห็นเจ้าสาร ANTI SKID SURFACE นี้กันบ้างแล้วนะครับ เพียงแต่อาจจะไม่รู้จักว่ามันมีชื่อเรียกว่าอะไร หรือ อาจไม่รู้ว่ามันมีหน้าที่ไว้ช่วยเรื่องอะไรนะครับ เรามาดู ตย ได้จากในรูปนะครับ บนถนนจะมีวัสดุสีแดงๆ ที่ใช้ปิดทับไปบนพื้นผิวของถนน เราจะเรียกเจ้าสิ่งนี้ว่าเป็น ANTI SKID SUFACE เจ้าสิ่งนี้ก็คือ สีจราจรประเภทหนึ่ง แต่ จะมีค่าความฝืดมากกว่าสีทั่วๆ ไปค่อนข้างมาก โดยปกติแล้วค่าความฝืดของผิวถนนจะอยู่ที่ระดับประมาณ 45 ถึง 50 แต่เมื่อเราใช้เจ้า ANTI SKID SURFACE ทาลงไปบนผิวของถนนจะทำให้ความฝืดของถนนเพิ่มสูงขึ้นเป็น 60 ถึง 70 คือ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20

คำถามก็คือว่า ทำไมการเพิ่มความฝืดของพื้นถนนต้องใช้เป็นสีแดง ต้องขอบอกว่า เป็นเพราะว่าเราเลือกใช้ประโยชน์จากสีด้วยนั่นเอง คือ สีจะสื่อให้ผู้ขับขี่ได้เห็นและรับรู้ว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวนี้จะมีลักษณะที่ผิดปกติออกไปจากเส้นทางปกติอื่นๆ ซึ่งถ้าหากเราไม่ต้องการที่จะสื่อด้วยสี เช่น หากเป็นโค้งธรรมดา ไม่ใช่จุดที่มีความเสี่ยงภัยอะไรมากนัก เราก็อาจจะเลือกทำการเพิ่มความฝืดบนผิวของถนนด้วยการฉาบผิวทางที่เรียกว่า PARA SLURRY SEAL อย่างเดียวก็ได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีสีใดๆ แสดงให้เห็น แต่ สำหรับโค้งที่ถือว่าเป็นจุดเสี่ยง สีจะมีประโยชน์มากๆ ต่อผู้ขับขี่ยานฟาหนะอย่างที่ผมได้เรียนให้ทราบไปก่อนหน้านี้นะครับ

สำหรับประเทศไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้จะอยู่ระหว่างการเริ่มนำเข้ามาทดลองใช้ ประชาชนทั่วๆ ไปจึงอาจจะพบเห็นเจ้าสารตัวนี้ได้ในหลายพื้นที่ แต่ ณ ปัจจุบันกรมทางหลวงได้ทำการออกข้อกำหนดว่าการจะใช้ ANTI SKID ที่เป็นสีแดง นั้นจะให้ใช้เฉพาะบริเวณจุดที่ถือว่ามีความเสี่ยงภัยเท่านั้น ห้ามใช้สีแดงสำหรับโค้งทั่วๆ ไป ถ้าโค้งทั่วๆ ไปก็ให้ใช้ PARA SLURRY SEAL เพียงอย่างเดียว

ส่วนที่หลายท่านสงสัยว่า สีแดง บนพื้นถนนนั้นลื่นหรือไม่ ? ผมต้องเรียนว่ามัน ไม่ลื่น แต่เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่มีความใหม่ ซึ่งโดยหลักการแล้ว เมื่อทาสีชนิดนี้แล้วเราจะต้องทำการโรยทับด้วยลูกแก้วเพื่อเพิ่มความฝืดให้แก่พื้นผิวของเรา ซึ่งในทางเทคนิคหากในระหว่างขั้นตอนการทำงานค่าของอุณหภูมิอาจจะไม่เหมาะสม คือ อาจสูงจนเกินไป จะทำให้สีมีความเหลว ซึ่งจะทำให้ลูกแก้วที่โรยทับหน้าเหล่านี้นั้นจมลงไป โดยที่นั่นคือสาเหตุของความลื่นที่เราอาจรับรู้ได้นะครับ หรือ ถ้าทาแล้วสีเกิดมีความแข็งตัวมากจนไป ก็อาจทำให้ลูกแก้วลอยอยู่ที่ผิวข้างบนมากจนเกินไป เมื่อใช้ไปได้สักระยะเวลาหนึ่ง เม็ดเหล่านี้ก็จะกระเทะหลุดออกและหายไปในที่สุด เพราะฉะนั้นในขั้นตอนของการทำงานเราจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิให้ได้ระดับขององศาตามที่กำหนดไว้ตามมตรฐาน คือ 200 องศา บวกลบไม่เกิน 10 ซึ่งในขณะนี้กรมทางหลวงได้มีมาตรการที่คอยควบคุมและดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจังและใกล้ชิด สำหรับเจ้า ANTI SKID SURFACE นี้จะเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายมากในประเทศแถบยุโรป และ ประเทศญี่ปุ่น นั่นเองครับ

หวังว่าความรู้เล็กๆ น้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ

ADMIN JAMES DEAN

BSP-Bhumisiam
ผู้ผลิตรายแรก SPUN MICRO PILE
1) ได้รับมาตรฐาน มอก. มาตราฐาน 397-2524 เสาเข็ม Spun Micro Pile
2) ผู้ผลิต Spun Micro Pile ที่ได้รับ Endorsed Brand รับรองคุณภาพมาตราฐาน จาก SCG
3) ผู้นำระบบ Computer ที่ทันสมัยผลิต เสาเข็ม Spun Micro Pile
4) ลิขสิทธิ์เสาเข็ม Spun Micro Pile
5) เทคโนโลยีการผลิต จากประเทศเยอรมันนี
6) ผู้ผลิต Spun Micro Pile แบบ “สี่เหลี่ยม”
7) การผลิตคอนกรีตและส่วนผสม ใช้ Program SCG-CPAC
เสาเข็ม สปันไมโครไพล์ ช่วยแก้ปัญหาได้เพราะ
1) สามารถทำงานในที่แคบได้
2) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะทางเสียง
3) หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน
4) สามารถรับน้ำหนักได้ 20-40 ตัน/ต้น
5) สามารถตอกชิดกำแพง ไม่ก่อให้โครงสร้างเดิมเสียหาย
สนใจติดต่อสินค้า เสาเข็ม ไมโครไพล์ (Micropile)
สปันไมโครไพล์ (Spun MicroPile) มาตรฐาน มอก.
ติดต่อ สายด่วน โทร :
081-634-6586
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด

19059562_1420024488043672_8047672863356568816_n1