สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
จริงๆ แล้วที่ผ่านๆ มาในโพสต์ของผมๆ หลายๆ โพสต์ผมได้พยายามที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่เพื่อนๆ ทั้งที่เป็น วิศวกร และ บุคคลธรรมดาทั่วๆ ไป ด้วยนะครับ เพียงแต่ว่าเนื้อหาในบางวันก็อาจจะเน้นหนักไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับหัวข้อในวันนั้นๆ นะครับ แต่ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้แก่แฟนเพจทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่วิศวกรกันบ้างก็แล้วกันนะครับ โดยหัวข้อในวันนี้ คือ “หากเพื่อนๆ ไปทำการตรวจการทำงานของทาง ผรม ที่หน้างานโดยที่เพื่อนๆ เองอาจจะไม่ใช่วิศวกร และ ต้องการที่จะตรวจสอบดูว่า คอนกรีต ผสมเสร็จที่ทาง ผรม สั่งมาที่หน้างานนั้นมีคุณสมบัติต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง เช่น ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีต ค่าการยุบตัวของคอนกรีต เป็นต้น เพื่อนๆ จะมีวิธีการอย่างไรในการตรวจสอบข้อสงสัยประการนี้ได้บ้าง ?”
วิธีการที่ถือว่ามีความง่ายดายที่สุดในการตรวจสอบเลยก็คือ เพื่อนๆ ควรต้องสอบถามทางไปยัง ผู้ออกแบบ หรือ ผรม หรือ อ่านจากข้อความที่ระบุในแบบวิศวกรรมโครงสร้างเสียก่อนนะครับว่า คุณสมบัติต่างๆ ที่คอนกรีตสำเร็จรูปที่จะได้มีการนำมาส่งมาที่หน้างานนั้นมีคุณสมบัติเป็นเช่นไรนะครับ จากนั้นเมื่อรถผสมคอนกรีตนำคอนกรีตมาส่งที่หน้างานก็ให้เพื่อนๆ ขอดู ใบจ่ายคอนกรีต ที่รถผสมคอนกรีตจะต้องนำมาส่งให้ทาง ผรม ที่หน้างานในทุกๆ ครั้งว่าคุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตสำเร็จรูปที่นำมาส่งนั้นมีคุณสมบัติเป็นเช่นไรนะครับ โดยในการอธิบายครั้งนี้ผมขอให้เพื่อนๆ ดูจากในรูปประกอบด้วยนะครับ
ในรูปๆ นี้จะเป็น ใบจ่ายสินค้า ที่รถผสมคอนกรีตสำเร็จรูปจะนำมาส่งในทุกๆ ครั้งที่มีการนำส่งคอนกรีตที่หน้างานนะครับ โดยรายละเอียดในเอกสารฉบับนี้อาจจะไม่ใช่รายละเอียดทั้งหมดของวัสดุคอนกรีตที่เราสั่งมา แต่ ก็จะมีอยู่พอสมควรเพียงพอต่อการตรวจสอบในเบื้องต้นได้นะครับ เช่น มีค่ากำลังอัดประลัยจากแบบมาตรฐานรูปทรงลูกบาศก์ โดยมีการคำนวณเพื่อให้เทียบเท่ากันระหว่าง ค่ากำลังอัดประลัยจากแบบมาตรฐานรูปทรงกระบอก ด้วยนะครับ มีระบุถึงค่าการยุบตัวของคอนกรีตทีได้รับการออกแบบเอาไว้ ซึ่งเราควรต้องตรวจสอบที่หน้างานว่ามีความเหมาะสมในการทำงานหรือไม่ มีวันและเวลาที่ผลิตรวมไปถึงเวลาที่รถคอนกรีตนั้นเดินทางออกมาจากโรงงานด้วย ซึ่งเราควรต้องตรวจสอบกับวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานที่อยู่ที่หน้างานด้วยนะครับว่าระยะเวลาในการลำเลียงคอนกรีตที่มีความเหมาะสมนั้นควรเป็นเท่าใด เพราะ หากคอนกรีตใช้เวลาในการเดินทางจากโรงงานมาที่หน้างานช้าจนเกินไป อาจทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของคอนกรีตนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นหากว่าคอนกรีตของเรานั้นมีการใส่สารเคมีผสมเพิ่มต่างๆ ลงไป อาทิเช่น สารหน่วงการก่อตัว ก็อาจที่จะเป็นการเพิ่มระยะเวลาในการลำเลียงวัสดุคอนกรีตจากโรงงานที่ทำการผลิตมายังหน้างานก็ได้ เป็นต้น ส่วนข้อมูลเรื่องสารผสมเพิ่มอื่นๆ ในคอนกรีตเหมือนใน ตย ที่ผมแนบมาในโพสต์ๆ นี้ก็อาจจะมีการอธิบายไว้คร่าวๆ นะครับ อาทิเช่น ในคอนกรีตสำเร็จรูปของเรานั้นมีการผสมเถ้าลอยถ่านหินด้วย เป็นต้น ซึ่งหากเราต้องการที่จะทราบรายละเอียดถึงตัวรายละเอียดของส่วนผสมในคอนกรีต หรือ ที่เราเรียกกันว่า CONCRETE MIXED DESIGN นั้นเราอาจที่จะต้องสอบถามเพิ่มเติมไปยังโรงงานที่ทำการผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปนี้เลยนะครับ เพราะ ในเอกสารฉบับนี้มักจะไม่ได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดพวกนี้ลงไป เนื่องมาจากว่าจะมีรายละเอียดเหล่านี้จะมีปริมาณข้อมูลที่ค่อนข้างเยอะมาก เป็นต้นครับ
ผมต้องขออนุญาตเรียนเพื่อนๆ ที่เป็นวิศวกรไว้ก่อนเลยนะครับว่าเพิ่งน้อยใจไป ในโอกาสหน้าผมจะมาเรียนให้ทราบถึงกรณีที่เพื่อนๆ นั้นเป็นวิศวกรบ้างนะครับ เช่น จะมีวิธีในการออกคำสั่งไปยังโรงผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปอย่างไรบ้าง มีวิธีตรวจสอบการนำส่งคอนกรีตสำเร็จรูปมาที่หน้างานอย่างไรบ้าง เป็นต้น ยังไงเพื่อนๆ ที่เป็นวิศวกรอดใจรอหน่อยนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน
จริงๆ แล้วที่ผ่านๆ มาในโพสต์ของผมๆ หลายๆ โพสต์ผมได้พยายามที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระให้แก่เพื่อนๆ ทั้งที่เป็น วิศวกร และ บุคคลธรรมดาทั่วๆ ไป ด้วยนะครับ เพียงแต่ว่าเนื้อหาในบางวันก็อาจจะเน้นหนักไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับหัวข้อในวันนั้นๆ นะครับ แต่ ในวันนี้ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้แก่แฟนเพจทั่วๆ ไปที่ไม่ใช่วิศวกรกันบ้างก็แล้วกันนะครับ โดยหัวข้อในวันนี้ คือ “หากเพื่อนๆ ไปทำการตรวจการทำงานของทาง ผรม ที่หน้างานโดยที่เพื่อนๆ เองอาจจะไม่ใช่วิศวกร และ ต้องการที่จะตรวจสอบดูว่า คอนกรีต ผสมเสร็จที่ทาง ผรม สั่งมาที่หน้างานนั้นมีคุณสมบัติต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง เช่น ค่ากำลังอัดประลัยของคอนกรีต ค่าการยุบตัวของคอนกรีต เป็นต้น เพื่อนๆ จะมีวิธีการอย่างไรในการตรวจสอบข้อสงสัยประการนี้ได้บ้าง ?”
วิธีการที่ถือว่ามีความง่ายดายที่สุดในการตรวจสอบเลยก็คือ เพื่อนๆ ควรต้องสอบถามทางไปยัง ผู้ออกแบบ หรือ ผรม หรือ อ่านจากข้อความที่ระบุในแบบวิศวกรรมโครงสร้างเสียก่อนนะครับว่า คุณสมบัติต่างๆ ที่คอนกรีตสำเร็จรูปที่จะได้มีการนำมาส่งมาที่หน้างานนั้นมีคุณสมบัติเป็นเช่นไรนะครับ จากนั้นเมื่อรถผสมคอนกรีตนำคอนกรีตมาส่งที่หน้างานก็ให้เพื่อนๆ ขอดู ใบจ่ายคอนกรีต ที่รถผสมคอนกรีตจะต้องนำมาส่งให้ทาง ผรม ที่หน้างานในทุกๆ ครั้งว่าคุณสมบัติพื้นฐานของคอนกรีตสำเร็จรูปที่นำมาส่งนั้นมีคุณสมบัติเป็นเช่นไรนะครับ โดยในการอธิบายครั้งนี้ผมขอให้เพื่อนๆ ดูจากในรูปประกอบด้วยนะครับ
ในรูปๆ นี้จะเป็น ใบจ่ายสินค้า ที่รถผสมคอนกรีตสำเร็จรูปจะนำมาส่งในทุกๆ ครั้งที่มีการนำส่งคอนกรีตที่หน้างานนะครับ โดยรายละเอียดในเอกสารฉบับนี้อาจจะไม่ใช่รายละเอียดทั้งหมดของวัสดุคอนกรีตที่เราสั่งมา แต่ ก็จะมีอยู่พอสมควรเพียงพอต่อการตรวจสอบในเบื้องต้นได้นะครับ เช่น มีค่ากำลังอัดประลัยจากแบบมาตรฐานรูปทรงลูกบาศก์ โดยมีการคำนวณเพื่อให้เทียบเท่ากันระหว่าง ค่ากำลังอัดประลัยจากแบบมาตรฐานรูปทรงกระบอก ด้วยนะครับ มีระบุถึงค่าการยุบตัวของคอนกรีตทีได้รับการออกแบบเอาไว้ ซึ่งเราควรต้องตรวจสอบที่หน้างานว่ามีความเหมาะสมในการทำงานหรือไม่ มีวันและเวลาที่ผลิตรวมไปถึงเวลาที่รถคอนกรีตนั้นเดินทางออกมาจากโรงงานด้วย ซึ่งเราควรต้องตรวจสอบกับวิศวกรผู้ควบคุมการทำงานที่อยู่ที่หน้างานด้วยนะครับว่าระยะเวลาในการลำเลียงคอนกรีตที่มีความเหมาะสมนั้นควรเป็นเท่าใด เพราะ หากคอนกรีตใช้เวลาในการเดินทางจากโรงงานมาที่หน้างานช้าจนเกินไป อาจทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของคอนกรีตนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้ ดังนั้นหากว่าคอนกรีตของเรานั้นมีการใส่สารเคมีผสมเพิ่มต่างๆ ลงไป อาทิเช่น สารหน่วงการก่อตัว ก็อาจที่จะเป็นการเพิ่มระยะเวลาในการลำเลียงวัสดุคอนกรีตจากโรงงานที่ทำการผลิตมายังหน้างานก็ได้ เป็นต้น ส่วนข้อมูลเรื่องสารผสมเพิ่มอื่นๆ ในคอนกรีตเหมือนใน ตย ที่ผมแนบมาในโพสต์ๆ นี้ก็อาจจะมีการอธิบายไว้คร่าวๆ นะครับ อาทิเช่น ในคอนกรีตสำเร็จรูปของเรานั้นมีการผสมเถ้าลอยถ่านหินด้วย เป็นต้น ซึ่งหากเราต้องการที่จะทราบรายละเอียดถึงตัวรายละเอียดของส่วนผสมในคอนกรีต หรือ ที่เราเรียกกันว่า CONCRETE MIXED DESIGN นั้นเราอาจที่จะต้องสอบถามเพิ่มเติมไปยังโรงงานที่ทำการผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปนี้เลยนะครับ เพราะ ในเอกสารฉบับนี้มักจะไม่ได้มีการกล่าวถึงรายละเอียดพวกนี้ลงไป เนื่องมาจากว่าจะมีรายละเอียดเหล่านี้จะมีปริมาณข้อมูลที่ค่อนข้างเยอะมาก เป็นต้นครับ
ผมต้องขออนุญาตเรียนเพื่อนๆ ที่เป็นวิศวกรไว้ก่อนเลยนะครับว่าเพิ่งน้อยใจไป ในโอกาสหน้าผมจะมาเรียนให้ทราบถึงกรณีที่เพื่อนๆ นั้นเป็นวิศวกรบ้างนะครับ เช่น จะมีวิธีในการออกคำสั่งไปยังโรงผลิตคอนกรีตสำเร็จรูปอย่างไรบ้าง มีวิธีตรวจสอบการนำส่งคอนกรีตสำเร็จรูปมาที่หน้างานอย่างไรบ้าง เป็นต้น ยังไงเพื่อนๆ ที่เป็นวิศวกรอดใจรอหน่อยนะครับ
หวังว่าความรู้เล็กๆน้อยๆ ที่ผมได้นำมาฝากแก่เพื่อนๆ ทุกๆ ท่านในวันนี้จะมีประโยชน์ต่อทุกๆ ท่านไม่มากก็น้อย และ จนกว่าจะพบกันใหม่นะครับ
ADMIN JAMES DEAN
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ผู้นำกลุ่มธุรกิจเสาเข็มสปันไมโครไพล์ รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้การรับรองมาตรฐาน ISO 45001:2018 การจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย การให้บริการตอกเสาเข็ม The Provision of Pile Driving Service และได้รับการรับรอง ISO 9001:2015 ของระบบ UKAS และ NAC รายแรกและรายเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ตามมาตรฐานในกระบวนการ การออกแบบเสาเข็มสปันไมโครไพล์ การผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และบริการตอกเสาเข็มเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Design and Manufacturing of Spun Micropile/Micropile and Pile Driving Service) Certified by SGS (Thailand) Ltd.
บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด คือผู้ผลิตรายแรกและรายเดียวในไทย ที่ได้รับการรับรองคุณภาพ Endoresed Brand จาก SCG ด้านการผลิตเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ และได้รับเครื่องหมาย มาตรฐาน อุตสาหกรรม มอก. 397-2524 เสาเข็มสปันไมโครไพล์ Spun Micro Pile พร้อมรับประกันผลงาน และความเสียหายที่เกิดจากการติดตั้ง 7+ Year Warranty เสาเข็มมีรูกลมกลวงตรงกลาง การระบายดินทำได้ดี เมื่อตอกแล้วแรงสั่นสะเทือนน้อยมาก จึงไม่กระทบโครงสร้างเดิม หรือพื้นที่ข้างเคียง ไม่ต้องขนดินทิ้ง ตอกถึงชั้นดินดานได้ ด้วยเสาเข็มคุณภาพมาตรฐาน มอก. การผลิตที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย จากประเทศเยอรมัน เสาเข็มสามารถทำงานในที่แคบได้ หน้างานสะอาด ไม่มีดินโคลน เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักปลอดภัยได้ 15-50 ตัน/ต้น ขึ้นอยู่กับขนาดเสาเข็มและสภาพชั้นดิน แต่ละพื้นที่ ทดสอบโดย Dynamic Load Test ด้วยคุณภาพและการบริการที่ได้มาตรฐาน เสาเข็มเราจึงเป็นที่นิยมในงานต่อเติม
รายการเสาเข็มภูมิสยาม
1. สี่เหลี่ยม S18x18 cm.
รับน้ำหนัก 15-20 ตัน/ต้น
2. กลม Dia 21 cm.
รับน้ำหนัก 20-25 ตัน/ต้น
3. กลม Dia 25 cm.
รับน้ำหนัก 25-35 ตัน/ต้น
4. กลม Dia 30 cm.
รับน้ำหนัก 30-50 ตัน/ต้น
(การรับน้ำหนักขึ้นอยู่กับสภาพชั้นดินในแต่ละพื้นที่)
☎ สายด่วนภูมิสยาม:
082-790-1447
082-790-1448
082-790-1449
081-634-6586
? Web:
bhumisiam.com
micro-pile.com
spun-micropile.com
microspunpile.com
bhumisiammicropile.com