วิธีในการคำนวณอย่างง่ายหรือ SIMPLFY METHOD พร้อมกับข้อจำกัดในการใช้งานต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมยังจำเป็นที่จะต้องขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนอยู่นะครับ ตามที่ผมได้แจ้งเอาไว้ตั้งแต่เมื่อวานว่าวันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงประเด็นที่ผมได้ตอบคำถามของรุ่นน้องวิศวกรท่านหนึ่งซึ่งผมได้อธิบายมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาแล้วและวันนี้ น่าที่จะ เป็นโพสต์สุดท้ายของการตอบคำถามข้อนี้แล้ว โดยที่ผมจะนำเอาวิธีในการคำนวณอย่างง่ายหรือ SIMPLFY METHOD พร้อมกับข้อจำกัดในการใช้งานต่างๆ ของเจ้าวิธีการนี้มาอธิบายให้แก่เพื่อนๆ ทุกคน สำหรับกรณีที่เพื่อนๆ ของเราหลายๆ คนอาจที่จะบอกว่า จะทำอย่างไรดี อยากที่จะทำสามารถทำการคำนวณได้ด้วยมือเพราะไม่ค่อยที่จะสะดวกใช้จุดรองรับแบบสปริงและวิเคราะห์ด้วยซอฟต์แวร์ทางไฟไนต์อีลีเมนต์เหมือนกับที่ผมได้อธิบายและยกตัวอย่างไปนะครับ … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ โดยที่ปัญหาในวันนี้ที่ผมจะนำมาหยิบยกและพูดคุยกับเพื่อนๆ นั้นมาจากรุ่นน้องของผมในเฟซบุ้คท่านหนึ่งที่ได้สอบถามผมเข้าในอินบ็อกซ์ส่วนตัวว่า   “ก่อนหน้านี้เห็นว่าอาจารย์สมพรรวมถึงอาจารย์หลายๆ ท่านซึ่งก็รวมถึงผมด้วยที่มักพูดถึงเรื่องจุดรองรับแบบที่สามารถมีการเสียรูปได้หรือ FLEXIBLE SUPPORT อยากจะทราบว่าเพราะเหตุใดเราจึงจะทำการพิจารณาให้จุดรองรับนั้นเป็นจุดรองรับแบบที่ไม่มีการเสียรูปหรือ RIGID SUPPORT เลยไม่ได้ละครับ ?”   จริงๆ … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในวันนี้ผมยังจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ ต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวาน โดยที่ผมจะขอเท้าความสักเล็กน้อยก่อนที่จะเริ่มต้นการโพสต์ในวันนี้ดังนี้ครับ เนื่องจากเมื่อเย็นของเมื่อวานนี้ได้มีน้องนักศึกษาท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาปรึกษาผมและได้แจ้งว่าอยากจะรบกวนให้ช่วยอธิบายและแสดงวิธีในการแก้ปัญหาในกรณีที่โครงสร้างๆ คานยื่นโครงสร้างหนึ่งซึ่งมีรูปทรงแปลกๆ ดังรูปที่แสดง นั่นก็คือค่าความสูงของหน้าตัดจะมีค่าไม่คงที่ตลอดความยาวของคานนั่นเอง ซึ่งน้องได้แจ้งว่าต้องนำเอาคำตอบไปใช้ค่อนข้างด่วน โดยที่ใจความของคำถามนั้นมีอยู่ว่า   มีคานยื่นที่มีความยาวของช่วงยื่นเท่ากับ 400 มม หรือ 40 ซม หรือ … Read More

การวิเคราะห์โครงสร้างโดยการใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ   ปัญหาในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT นะครับ   สืบเนื่องมาจากการที่เมื่อช่วงเวลาสักพักใหญ่ก่อนหน้านี้ ได้มีรุ่นพี่วิศวกรที่ผมรักและเคารพมากๆ ท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาสอบถามกับผมโดยมีใจความของคำถามว่า   “อยากให้ผมนั้นช่วยให้คำแนะนำถึงวิธีในการในการที่เราจะใส่ VERTICAL DISTRIBUTED LOAD … Read More

ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขอแทรกเนื้อหาการโพสต์ประจำวันด้วยปัญหาที่เพิ่งจะเกิดขึ้นเมื่อวานนี้กรณีหนึ่งที่บังเอิญว่ามีน้องบนเฟซบุ้คของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาเพื่อปรึกษาเรื่องป้ายโฆษณาป้ายหนึ่งซึ่งมีความสูงจากพื้นดินประมาณ 7500 มม หรือ 7.50 เมตร   พอผมได้เห็นลักษณะและรูปร่างจากรูปถ่ายแล้วก็เลยได้สอบถามไปยังน้องท่านนี้ถึงกรณีของจุดรองรับของโครงสร้างดังกล่าวว่ามีลักษณะเป็นเช่นใด คำตอบที่ได้ก็คือ เนื่องจากทางเจ้าของมีความเห็นว่าป้ายๆ นี้ไม่ได้มีความสูงอะไรมากมายนัก ซึ่งแน่นอนว่าน้ำหนักหรือแรงกระทำในแนวดิ่งเองก็มีค่าที่น้อยมากๆ เช่นเดียวกัน นั่นเลยเป็นเหตุให้ทางเจ้าของโครงสร้างของเฟรมเหล็กเฟรมนี้ไม่ได้ใส่ใจที่จะให้วิศวกรโครงสร้างหรือผู้ที่มีความรู้ทางด้านงานวิศวกรรมเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและให้รายละเอียดในส่วนของงานวิศวกรรมโครงสร้างให้แก่โครงสร้างๆ … Read More

เหล็กเสริมต้านทานต่อแรงดัด ที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้ทางด้านงานออกแบบที่เกี่ยวข้องกันกับการทำงานทางด้านวิศวกรรมโครงสร้างที่อยู่ เหนือพื้นดินขึ้นมา และ ใต้พื้นดินลงไป มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการพูดถึงเรื่อง เหล็กเสริมต้านทานต่อแรงดัดที่เกิดขึ้นในแผ่นพื้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหล็กเสริมประเภทหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำการพิจารณาให้ต้องทำการเสริมอยู่ในแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันนะครับ   ในหัวข้อนี้จะค่อนข้างยาวหน่อยนะครับเพราะต้องทำความเข้าใจเสียก่อนว่าแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็นแผ่นพื้นทางเดียวและแผ่นพื้นสองทางนั้นจะมีวิธีและขั้นตอนในการวิเคราะห์โครงสร้างเพื่อที่จะหาค่าแรงดัดสำหรับการออกแบบที่มีรายละเอียดที่แตกต่างกันแต่พอได้ค่าแรงดัดสำหรับการออกแบบดังกล่าวนี้มาแล้วก็จะพบว่าทั้งวิธีการและขั้นตอนในการคำนวณหาปริมาณของเหล็กเสริมภายในหน้าตัดของแผ่นพื้นนั้นจะมีความเหมือนกันเลยก็ว่าได้และสำหรับการคำนวณและออกแบบหน้าตัดของโครงสร้าง … Read More

ตัวอย่างการคำนวณในเรื่อง เหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าว อันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากเมื่อวานนี้ผมได้พูดถึงเรื่อง เหล็กเสริมต้านทานการแตกร้าวอันเนื่องมาจากการหดตัวที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเหล็กเสริมประเภทหนึ่งที่เราจำเป็นต้องทำการพิจารณาให้ต้องทำการเสริมอยู่ในแผ่นพื้นชนิดวางตัวอยู่บนคานที่เป็น แผ่นพื้นทางเดียว และ แผ่นพื้นสองทาง ให้แก่เพื่อนๆ ทุกๆ คนได้รับทราบกันไปนั้น ปรากฎว่ามีเพื่อนของผมท่านหนึ่งซึ่งติดตามอ่านบทความของผมได้ทักผมมาหลังไมค์ว่า อยากให้ผมได้ทำการยกตัวอย่างการคำนวณในเรื่องๆ นี้สักหน่อยเพื่อนๆ จะได้เกิดความเข้าใจและนึกภาพออกกัน ครั้นจะรอนำเอาคำถามข้อนี้ไปเป็นคำถามประจำสัปดาห์ก็คิดว่าจะไม่เหมาะเพราปัญหาข้อนี้จะมีความง่ายดายมากจนเกินไป ผมเลยตัดสินใจว่าจะขออนุญาตเพื่อนๆ นำตัวอย่างการคำนวณมาแสดงให้ได้ดูกันในวันนี้เสียเลยก็แล้วกัน ทั้งนี้จะได้ไม่เป็นการขาดตอนจากเมื่อวานด้วย โดยที่ปัญหาที่ผมสมมติขึ้นมานั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ … Read More

ปัญหาจากการทำงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะด้วยกรรมวิธีแบบแห้ง หรือ ที่เรานิยมเรียกกันว่า DRY PROCESS BORED PILE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ปัญหาที่ผมจะนำมาเสนวนากับเพื่อนๆ ในวันนี้จะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง ปัญหาจากการทำงานก่อสร้างเสาเข็มเจาะด้วยกรรมวิธีแบบแห้ง หรือ ที่เรานิยมเรียกกันจนติดปากว่า DRY PROCESS BORED PILE โดยที่ในวันนี้ผมจะหยิบยกเอากรณีของปัญหาที่เกิดจากการที่เราทำการกดปลอกเหล็กชั่วคราว หรือ CASING เพื่อให้ทำหน้าที่ป้องกันมิให้ดินบริเวณหลุมเจาะนั้นเกิดการพังทลายลงมานะครับครับ   … Read More

ความเชื่อถือได้ของผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการคำนวณด้วยมือและการใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ปัญหาและเทคนิคในการทำงานก่อสร้างโครงสร้างประเภทต่างๆ มาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ ปัญหาในวันนี้ยังคงเกี่ยวข้องกับเนื้อหาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วนั่นก็คือเรื่องความเชื่อถือได้ของผลจากการวิเคราะห์โครงสร้างโดยการคำนวณด้วยมือและการใช้ซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT นะครับ   อย่างที่ผมได้เรียนไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าหากเพื่อนๆ มีความต้องการที่จะวิเคราะห์ให้ได้คำตอบที่ถูกต้องแบบแม่นตรงแบบเป๊ะๆ เลยโดยการคำนวณด้วยมือ เพื่อนๆ ก็จำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์โดยรวมผลทุกๆ อย่างที่เกิดขึ้นในโครงสร้างจริงๆ เข้าไปในขั้นตอนของการวิเคราะห์ด้วย มิเช่นนั้นผลก็จะเกิดค่าความคลาดเคลื่อนออกไปเหมือนกับที่ผมได้ยกตัวอย่างให้ดูกันในสัปดาห์ที่แล้ว   … Read More

ประเภทของยางมะตอย ที่นิยมนำมาใช้งานเทปิดผิวหน้าของทางและถนน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาทำการโพสต์และแชร์ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง ความรู้และวิธีในการอ่านข้อมูล ซึ่งจะรวมไปถึงการนำข้อมูลจากผลการทดสอบดินหรือ BORING LOG ไปใช้งานมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนนะครับ จริงๆ แล้วเนื้อหาในวันนี้ที่ผมจะนำมาโพสต์จะไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันกับเรื่องการทดสอบดินเท่าใดนักเพียงแต่เป็นเพราะเมื่อสองวันก่อนมีรุ่นน้องของผมท่านหนึ่งได้อินบ็อกซ์เข้ามาสอบถามกับผมเกี่ยวกับเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่อง โครงสร้างรองทางแบบมีความยืดหยุ่น หรือ FLEXIBLE PAVEMENT STRUCTURE ซึ่งพอได้มีการพูดถึงเรื่องๆ หนึ่งก็คืองานดิน ก็ได้มีการพูดคุยกันถึงเรื่องวัสดุรองชั้นทาง หรือ … Read More

1 9 10 11 12 13 14 15 33