ตัวอย่าง การระมัดระวังไม่ให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็ก(โครงถัก)เกิดการเยื้องศูนย์ ผิดไปจากที่ทำการออกแบบไว้ในตอนแรก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน วันนี้ผมอยากจะขออนุญาตมาพูดต่อเนื่องจากโพสต์ของเมื่อวานที่มีความเกี่ยวกับ ประเด็นสำคัญๆ ที่เราควรที่จะทำการพิจารณาเวลาที่ทำการออกแบบและการทำงานก่อสร้างงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กแก่เพื่อนๆ กันนะครับ ซึ่งประเด็นในวันนี้ก็ยังคงเกี่ยงข้องกับเรื่อง การที่เราควรที่จะระมัดระวังมิให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเหล็กที่เป็นโครงถักนั้นเกิดการเยื้องศูนย์ออกไปผิดไปจากการที่เราได้ทำการออกแบบไว้ตั้งแต่ในตอนแรกนะครับ โดยในวันนี้ผมหยิบยก ตย ขึ้นมาให้แก่เพื่อนๆ ได้รับชมกันด้วย เพื่อนๆ จะได้สามารถที่จะเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยนะครับ อย่างที่ผมเรียนไปในโพสต์ที่แล้วนะครับว่า ที่มาของปัญหานี้ คือ เวลาที่ผู้ออกแบบทำการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อทำการวิเคราะห์และออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโครงถักเหล็ก เรามักที่จะทำการจำลองให้ตำแหน่งของศูนย์กลางถึงศูนย์กลางของชิ้นส่วนโครงสร้างนั้นตรงกัน แต่ ในสภาพความเป็นจริงเวลาที่ช่างทำการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กมักที่จะทำงานโดยอาศัยความง่ายในการทำงานเอาไว้ก่อน … Read More

ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม FINITE ELEMENT ร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ นั่นก็คือ AUTO CAD

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตมาเล่ามาแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ เกี่ยวกับเนื้อหาเบาๆ เกี่ยวกับเรื่อง ประโยชน์ของการใช้โปรแกรม FINITE ELEMENT ร่วมกันกับโปรแกรมอื่นๆ ที่เพื่อนทั่วๆ ไปน่าที่จะมีความคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว นั่นก็คือ AUTO CAD นั่นเองครับ โดย CASE STUDY ที่ผมนำมาใช้ประกอบในการอธิบายครั้งนี้คืองานในอดีตที่ผมเคยทำเอาไว้นะครับ งานๆ … Read More

การแก้ไขปัญหางานโครงสร้างฐานรากที่ใช้ระบบเสาเข็มในการก่อสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ผมจะขออนุญาตมาแชร์ความรู้ให้แก่เพื่อนๆ ต่อจากเมื่อวานเกี่ยวเนื่องกับการแก้ไขปัญหางานโครงสร้างฐานรากที่ใช้ระบบเสาเข็มในการก่อสร้างนะครับ โดยในวันนี้จะเป็นการตอบคำถามของเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งที่ทิ้งคำถามไว้พักใหญ่แล้วนะครับ ซึ่งโพสต์ๆ นี้น่าที่จะเป็นโพสต์สุดท้ายเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้สำหรับหัวข้อนี้ก่อนนะครับ เพราะ ผมมีคิวที่จะต้องโพสต์เพื่อตอบปัญหาแก่เพื่อนๆ อีกหลายเรื่องเลยน่ะครับ หากเพื่อนๆ ท่านใดมีความสนใจก็สามารถที่จะติดตามอ่านกันได้นะครับ ปัญหาที่ผมจะนำมาถกกัน และ เล่าให้เพื่อนๆ ฟังกันในวันนี้ คือ หากฐานรากของเราใช้เสาเข็มจำนวนเพียง 2 ต้น … Read More

สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆท่าน ในวันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาแชร์และเล่าถึงประเด็นที่มีความสำคัญมากประการหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์แรงกระทำทางด้านข้างแก่โครงสร้างของอาคารอันเนื่องมาจากแรงลมให้แก่เพื่อนๆ ได้ทราบกันนะครับ หัวข้อนั้นก็คือ สมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่า ซึ่งเป็นรูปแบบการคำนวณแรงลมตามมาตรฐานฉบับใหม่ของกรมโยธาธิการและผังเมืองนะครับ โดยหากอ้างอิงตาม มยผ 1311-50 หรือ มาตรฐานการคำนวณแรงลมและการตอบสนองของอาคารนะครับ หากเรามาดูสมการในการคำนวณหาหน่วยแรงลมสถิตเทียบเท่าจะพบว่าหน้าตาของสมการนี้เป็นดังต่อไปนี้นะครับ P = Iw q Ce Cg Cp ในวันนี้ผมอยากที่จะขออนุญาตมาขยายความถึงค่า … Read More

การวางตำแหน่งเสาเข็มที่มีความเหมาะสมในโครงสร้างฐานรากเดี่ยว (ISOLATED FOUNDATION) ที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้น

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้เรื่องที่ผมจะนำมาฝากและมาตอบคำถามของน้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยฝากคำถามผมมาสักพักใหญ่เกี่ยวกับเรื่องการวางตำแหน่งเสาเข็มที่มีความเหมาะสมในโครงสร้างฐานรากเดี่ยว (ISOLATED FOUNDATION) ที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้นนะครับ จริงๆ แล้วคำถามข้อนี้ผมคิดว่าพวกเราน่าที่จะทราบกันดีอยู่แล้วนะครับว่าระยะห่างของเสาเข็มที่มีความเหมาะสมเพื่อไม่ให้เส้นแนวของแรงเค้นในเสาเข็มนั้นเกิดการซ้อนทับกัน (STRESS OVERLAPPING) คือ เท่ากับ 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มนะครับ แต่ สำหรับโครงสร้างฐานรากที่ต้องใช้เสาเข็มจำนวนหลายๆ ต้นหากเราใช้ระยะนี้เท่ากับ 3 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็มจะทำให้ฐานรากนั้นมีขนาดใหญ่มาก … Read More

วิธีการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็ก

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ช่วงหลายวันที่ผ่านมานั้นผมได้ไปตรวจงานที่หน้างานซึ่งอยู่ในโครงการก่อสร้างโครงการหนึ่งนะครับ ในโครงการนี้ผมได้ทำการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างโดยใช้โครงสร้างเหล็กเป็นโครงสร้างหลักนะครับ ในโครงการนี้ผมพบว่าวิศวกรผู้ควบคุมงานของทาง ผรม นั้นเป็นรุ่นน้องวิศวกรที่จบการศึกษามาจากมหาวิทยาลัยเก่าของผมเอง เมื่อน้องท่านนี้ทราบว่าผมเป็นรุ่นพี่ก็ดีใจใหญ่ เค้าเลยฝากคำถามมายังผม 2 เรื่องด้วยกัน ผมเห็นว่าคำตอบต่อคำถามทั้งสองข้อนี้น่าที่จะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกๆ ท่านด้วยนะครับ ในวันนี้ผมจึงตัดสินใจจะมาตอบคำถามของน้องท่านนี้นะครับ คำถามข้อแรก คือ น้องท่านนี้สอบถามผมว่า เค้าเคยศึกษาวิธีการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างเหล็กโดยวิธี ALLOWABLE … Read More

พรีวิวซอฟต์แวร์ STAAD RCDC

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เมื่อวานผมมีโอกาสได้ไปสัมมนาที่จัดขึ้นโดยบริษัท REI SOFTWARE และ BENTLEY ค่ายเจ้าของซอฟต์แวร์ทาง FINITE ELEMENT ดังมากมายอย่าง STAAD.PRO และ RAM STRUCTURAL CONCEPT เป็นต้น ในงานเป็นการแนะนำให้รู้จักกันกับซอฟต์แวร์ตัวใหม่ล่าสุดของทางค่ายนั่นก็คือ STAAD RCDC … Read More

ความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุดรองรับให้เป็นแบบฐานรากยืดหยุ่น (ELASTIC FOUNDATION)

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขออนุญาตเพื่อนๆ มาอธิบายถึงความสำคัญและความจำเป็นที่เราจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างจุดรองรับให้เป็นแบบฐานรากยืดหยุ่น (ELASTIC FOUNDATION) ซึ่งน่าที่จะพออธิบายถึงหลักการและเหตุผลให้แก่เพื่อนๆ ได้พอทราบว่าเหตุใดเราจึงจะต้องทำการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยหลักการนี้ได้นะครับ เพื่อนๆ อาจจะมีความสงสัยเกิดขึ้นนะครับว่าเพราะเหตุใด เราจึงจำเป็นที่จะต้องทราบและเข้าใจถึงหลักการออกแบบวิธีการนี้กัน ? และเมื่อใดกันที่เราควรจะนำวิธีการนี้มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ หรือ วิเคราะห์โครงสร้างของเรา ? คำตอบก็ง่ายๆ และตรงไปตรงมานะครับ คือ หากเราจำเป็นที่จะต้องทำการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างชนิดที่มีจุดรองรับนั้นมีความแข็งแกร่งไม่มากนัก … Read More

ตัวอย่าง รายการคำนวณในหัวข้อ STRENGTH AND SERVICEABILITY DESIGN OF TYPICAL RC BEAM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมนำ ตย รายการคำนวณในหัวข้อ STRENGTH AND SERVICEABILITY DESIGN OF TYPICAL RC BEAM เพราะ เมื่อหลายวันก่อนมีเพื่อนวิศวกรรุ่นพี่ที่นิสัยดีมากๆ ท่านนึงได้สอบถามมาหลังไมค์เกี่ยวกับเรื่อง LC สำหรับการคำนวณและออกแบบในเรื่อง STRENGTH และ … Read More

ข้อกำหนดในการออกแบบ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันี้ผมมีเรื่องที่จะมาแชร์ประสบการณ์กันกับเพื่อนๆ ประการหนึ่งที่หากดูเผินๆ แล้วก็อาจจะเป็นเรื่องเป็นราวตามปกติที่วิศวกรโครงสร้างอย่างเราๆ ต้องพบต้องเจอ แต่ ผมคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนหลายๆ ท่านที่กำลังเริ่มต้นสนใจที่จะทำงานในสายงานของการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างนะครับ เรื่องนี้สืบเนื่องหลังจากที่ในวันนี้ผมเดินทางไปพบลูกค้ากับสถาปนิกคู่ใจของผมตลอดทั้งวัน พอกลับมาก็ด้วยความเหนื่อยล้าทั้งวันก็ตั้งใจจะว่าจะนั่งทำแต่งานเอกสารเบาๆ ให้สบายๆ จะได้ไม่เหน็ดเหนื่อยอะไรมากมายเพราะวันนี้ก็เหนื่อยมาทั้งวันแล้ว สักพักนึงผมก็ได้รับโทรศัพท์สายหนึ่งจากเจ้าหน้าที่เขตท่านหนึ่งที่เพิ่งเคยได้ร่วมงานกันเป็นครั้งแรก มีใจความของประโยคสนทนาดังนี้ คือ เจ้าหน้าที่ท่านนี้ต้องการให้ผมเข้าไปที่เขตเพื่อดำเนินการแก้ไขรายการคำนวณที่ได้ยื่นขออนุญาตไป เนื่องจากเอกสารที่เคยยื่นไปก่อนหน้านี้ไม่ถูกต้อง ผมก็ได้เอ่ยถามไปว่าเอกสารนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร ? … Read More

1 19 20 21 22 23 24 25 33