หลักการพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอแชร์ความรู้แก่เพื่อนๆ ถึงหลักการพื้นฐานที่เราใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้าง ซึ่งเป็นหลักการง่ายๆ ที่มีความตรงไปตรงมา แต่ ถือว่ามีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์โครงสร้างมากๆ นะครับ นั่นก็คือเรื่องทฤษฎีของ SUPERPOSITION นั่นเองครับ หลักการของ SUPERPOSITION เป็นแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีของการวิเคราะห์โครงสร้าง โดยที่มีข้อกําหนดว่าในการแอ่นตัว และ หมุนตัว (DISPLACEMENT) และ … Read More

การถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาตอบคำถามที่เพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งของผมที่ได้สอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องระยะและขนาดของการที่เราจะล้วงเหล็กเข้าไปในฐานรากซึ่งคำถามข้อนี้จะต่อเนื่องจากโพสต์ก่อนหน้านี้ของผมที่ได้โพสต์เกี่ยวกับฐานรากวางบนดินนะครับ เรื่องนี้จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องการถ่ายน้ำหนักบรรทุกจากโครงสร้างเสา คสล ลงสู่ฐานเสาตอม่อ คสล นะครับ โดยที่เสาจะทำหน้าที่ถ่ายน้ำหนักกระทำแบบเป็นจุดลงสู่ฐานราก น้ำหนักบรรทุกนี้จะถูกส่งผ่านโดยหน่วยแรงแบกทานในคอนกรีต (CONCRETE BEARING STRESS) และ หน่วยแรงในเหล็กเสริมบริเวณจุดต่อ เพื่อนๆ ลองคิดและจินตนาการตามผมนิดนึงนะครับ เนื่องจากขนาดพื้นหน้าตัดของคอนกรีตที่บริเวณรอยต่อของโครงสร้างเสาตอม่อ และ โครงสร้างฐานรากนี้จะมีค่าสูงกว่าพื้นที่หน้าตัดของคอนกรีตในเสา … Read More

วิธีในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปทดสอบในห้องปฎิบัติการ

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากช่วงนี้มีงานขึ้นใหม่หลายตัว จำเป็นจะต้องมีการทดสอบ ตย ดินเพื่อนำผลคุณสมบัติของดินนี้มาออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้างฐานรากและเสาเข็มของโครงการ ประกอบกับการที่ผมมักจะสังเกตเห็นว่ามีเพื่อนหลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบว่าวิธีในการทดสอบตัวอย่างดินนั้นทำได้กี่วิธีกันแน่ ? วันนี้ผมจะมาแชร์ความรู้เรื่องวิธีในการเก็บตัวอย่างดินเพื่อนำไปทดสอบในห้องปฎิบัติการให้แก่เพื่อนๆ ให้ได้ทราบกันนะครับ เนื่องจากลักษณะและคุณสมบัติของดิน มีความสำคัญต่อการออกแบบฐานรากของโครงสร้าง โดยเฉพาะคุณสมบัติด้านกำลังความแข็งแรงของดิน ในการเจาะเก็บตัวอย่างดินจะต้องทำด้วยความระมัดระวังเพื่อให้เกิดผลกระทบกระเทือนน้อยที่สุด เพราะดินบางชนิดมีความไวตัว (SENSITIVITY) สูงเมื่อถูกแรงกระทำอาจทำให้โครงสร้างของดินนั้นเปลี่ยนแปลงไป ผลที่ได้จากการทดสอบในห้องปฏิบัติการก็จะผิดไปจากความเป็นจริง ดังนั้นจึงควรเลือกวิธีการเจาะสำรวจชั้นดินที่เหมาะสมกับงานก่อสร้าง … Read More

นั่งร้าน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะนำความรู้เกี่ยวกับเรื่อง นั่งร้าน ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในงานก่อสร้างมาฝากให้แก่เพื่อนๆ ได้รับทราบกันนะครับ นั่งร้านสำหรับงานก่อสร้างที่พบเห็นกันได้ทั่วไปตามสถานที่ก่อสร้าง คือ เป็นอุปกรณ์ที่มีเอาไว้เพื่อรองรับน้ำหนักของวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งของ ผู้ปฏิบัติงาน ณ สถานที่ก่อสร้าง โดยที่นั่งร้านนี้มักจะวางอยู่สูงเหนือระดับทั่วๆ ไปที่คนปกติไม่สามารถจะปฏิบัติงานได้โดยสะดวก ดังแสดงตัวอย่างอยู่ในรูปที่แนบมานะครับ หากเพื่อนจะต้องเป็นผู้ควบคุมงานและจะต้องไปทำการสำรวจตรวจสอบงานนั่งร้าน ณ สถานที่ก่อสร้างสิ่งที่เพื่อนๆ ควรใส่ใจเป็นพิเศษจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักๆ … Read More

ระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมที่เหมาะสม

สวัสดีครับเพื่อนๆ ที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะนำเทคนิคในการตรวจสอบงาน คสล ที่หน้างานที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษเวลาทำการตรวจเช็คสภาพหน้างาน ซึ่งก็คือ ระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมที่เหมาะสม นั่นเอง หากจะพูดถึงเรื่อง ระยะห่างระหว่างเหล็กเสริมที่น้อยที่สุด ที่สามารถมีได้ คือ ระยะน้อยที่สุดระหว่าง (1.) ขนาดโตสุดของมวลรวมที่ใช้ในการผสมคอนกรีต (2.) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของเหล็กเสริมที่ใช้ (3.) ระยะ … Read More

SUPPORT ที่มีลักษณะเป็น ELASTIC SUPPORT หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น SPRING SUPPORT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาขอตอบคำถามให้แก่น้องวิศวกรท่านหนึ่งที่เคยสอบถามผมมาเมื่อตอนช่วงที่ผมโพสต์เกี่ยวกับเรื่อง SUPPORT ที่มีลักษณะเป็น ELASTIC SUPPORT หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น SPRING SUPPORT นั่นเองครับ โดยคำตอบที่ผมเตรียมจะมาตอบในวันนี้ผมขอใช้วิธียก ตย ให้แก่เพื่อนๆ เลยละกันนะครับ เพื่อนๆ จะได้เข้าใจได้โดยง่าย เห็นภาพชัดๆ พร้อมๆ … Read More

โฌแซ็ฟ-หลุยส์ ลากร็องฌ์ นักคณิตศาสตร์ในช่วงศตวรรษที่ 17

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้บุคคลคนที่ห้า ซึ่งน่าจะเป็นท่านสุดท้ายสำหรับการนำประวัติของท่านมาเล่าสู่กันฟังกับเพื่อนๆ ในช่วงนี้นะครับ ซึ่งเพื่อนๆ ก็คงจะทราบดีว่าบุคคลที่มีความสำคัญต่องานวิศวกรรมของเรานั้นยังมีอีกมากโข หากจะนำมาเล่าทั้งหมดก็คงไม่ไหว ที่ผมนำมานั้นเป็นเพียงหยิบมือเดียว ซึ่งเป็นท่านที่มีผลงานสำคัญๆ ต่อวิศวกรรมกลศาสตร์การคำนวณของเราเท่านั้นเองนะครับ โดยที่บุคคลใที่ผมนำประวัติของท่านมาฝากในวันนี้ท่านเป็นผู้รู้ เป็นนักวิชาการ และ เป็นนักคณิตศาสตร์ที่ต้องถือว่าเก่งมากท่านหนึ่งในช่วงศตวรรษที่ 17 เลยก็ว่าได้ครับ งานของท่านได้ส่งอิทธิพลต่อการคำนวณทางด้านต่างๆ อย่างมากมายหลากหลายวงการมากๆ โดยที่บุคคลท่านนี้ก็คือ … Read More

ทฤษฎีของคานรับแรงดัด หรือ BEAM THEORY

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาแชร์ความรู้กับเพื่อนๆ ต่อจากโพสต์ของเมื่อวานนะครับ เพราะ มีเพื่อนๆ ท่านหนึ่งถามผมมาว่า เมื่อในโครงสร้างปกติค่าการเสียรูปอันเกิดจากผลของแรงเฉือนจะมีค่าที่น้อยมากๆ เมื่อเทียบกันกับผลที่เกิดจากแรงดัด แล้วเมื่อใดกันที่เราจะต้องคำนึงถึงเรื่อง SHEAR DEFORMATION ในโครงสร้าง ? จริงๆ แล้วคำถามนี้เป็นคำถามที่ดีนะครับ ผมขอชมเชยผู้ตั้งคำถามนี้ด้วยครับ ดังนั้นในวันนี้ผมจะขออธิบายถึงคำถามข้อนี้พอสังเขปดังนี้นะครับ หากย้อนอดีตกันสักเล็กน้อย เมื่อตอนที่พวกเราเรียนในวิชาจำพวก … Read More

อัตราส่วนของเหล็กเสริมในหน้าตัดคอนกรีต

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมมีข้อคิดสำคัญประการหนึ่งในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง คสล มาฝากเพื่อนๆ ทุกๆ คนนะครับ นั่นก็คือ อัตราส่วนของเหล็กเสริมในหน้าตัดคอนกรีตนั่นเองครับ เพื่อนๆ อาจจะเข้าใจว่าในโครงสร้าง คสล นั้นยิ่งเราเสริมเหล็กในปริมาณที่มากๆ ก็จะยิ่งดี ยิ่งจะทำให้โครงสร้างของเรานั้นมีความแข็งแรงในโครงสร้างมาก และ หากเพื่อนๆ ยังมีความเชื่อด้วยว่าหากทำการเสริมเหล็กในปริมาณที่ถือว่าน้อย จะเป็นการทำให้โครงสร้างนั้นอ่อนแอ ไม่แข็งแรงเท่าที่ควร … Read More

การวิบัติของคาน คสล ด้วยรูปแบบของแรงเฉือน

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะขอมาอธิบายคร่าวๆ ให้เพื่อนๆ ได้พอมีพื้นฐานถึงเรื่องหลักการสำคัญของการพิจารณาเรื่องรูปแบบในการวิบัติที่สำคัญอย่างหนึ่งในการออกแบบโครงสร้างคาน คสล นั่นก็คือเรื่อง การวิบัติของคาน คสล ด้วยรูปแบบของแรงเฉือน นั่นเองครับ   สาเหตุที่เราจำเป็นจะต้องมีความเข้าใจถึงหลักการของการวิบัติของคาน คสล ด้วยรูปแบบของแรงเฉือน นั้นเป็นเพราะว่าหากเรามองข้ามและไม่สนใจรูปแบบการวิบัติชนิดนี้เมื่อโครงสร้างต้องรับ นน บรรทุกส่วนเกินเพิ่มเติมจากที่ผู้ออกแบบได้ทำการออกแบบไว้ ก็อาจจะทำให้คาน คสล … Read More

1 20 21 22 23 24 25 26 33