ข้อพึงปฎิบัติ หรือ GENERAL SPECIFICATION สำหรับในการทำงานพื้น POST-TENSIONED ชนิด BONDED SYSTEM

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน สืบเนื่องจากโพสต์เมื่อวานที่ผมได้อธิบายไปเกี่ยวกับเรื่องของการต่อทาบเหล็กทางกล หรือ การทำ COUPLER ในงาน คสล ผมพบว่ามีเพื่อนๆ ให้ความสนใจมากพอสมควรนะครับ เนื่องจากในงานเดียวกันนี้ที่ผมได้ไปทำการควบคุมงานจะมีการใช้ระบบพื้น คอร ชนิดดึงลวดทีหลังแบบมีแรงยึดเหนี่ยวซึ่งผมโดยที่ได้อธิบายรายละเอียดและวิธีในการทำแก่เจ้าของด้วย ผมเห็นว่าน่าที่จะมีประโยชน์จึงนำมาแชรืต่อให้แก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ ต่อไปนี้ถือเป็นข้อพึงปฎิบัติ หรือ GENERAL SPECIFICATION สำหรับในการทำงานพื้น … Read More

ประมาณค่า STIFFNESS จากค่าโมเมนต์ความเฉื่อยประสิทธิผล I eff และ ค่าพื้นที่หน้าตัดประสิทธิผล A eff

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากเมื่อวันก่อนที่ผมได้อธิบายไปเกี่ยวกับเรื่องการคำนวณหาค่าการเสียรูปในโครงสร้าง คสล และเมื่อวานนี้มีน้องวิศวกรท่านหนึ่งได้หลังไมค์มาถามผมเกี่ยวกับเรื่องๆ นี้พอดี ผมเห็นว่าเนื้อหานั้นน่าสนใจจึงตัดสินใจนำมาบอกเล่าต่อแก่เพื่อนๆ ด้วยนะครับ น้องท่านนี้ถามผมว่า จากที่ผมได้ระบุว่าวิธีการประมาณค่า STIFFNESS ตาม มยผ 1302 หน้าที่ 50 โดยใน มยผ ได้ระบุเอาไว้ว่า การกำหนดค่า … Read More

การออกแบบโครงสร้าง “เสาเหล็กรับแรงดึง”

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ในช่วงสองวันที่ผ่านมานั้นผมไม่ได้มาพบปะพูดคุยกับเพื่อนๆ เหมือนเช่นเคยเพราะผมติดภารกิจงาน “ช่วย” คือ ผมต้องไปช่วยงานแก้ไขงานออกแบบอยู่งานหนึ่ง ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นนี้มีความสำคัญอย่างมากในการออกแบบงานวิศวกรรมโครงสร้าง ผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ จึงขออนุญาตนำมาเล่าสู่กันฟังนะครับ เรื่องๆ นี้คือ น้องท่านนี้พบปัญหาในการออกแบบโครงสร้าง “เสาเหล็กรับแรงดึง” งงมั้ยครับ ? ผมไม่ได้พิมพ์ผิดนะครับ เพราะเสาต้นนี้รับแรงดึงจริงๆ เพื่อนๆ หลายๆ … Read More

การคำนวณหาค่า Ksoil จาก BORING LOG

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน มาตามคำสัญญานะครับ วันนี้ผมจะมาแสดง ตย ในการคำนวณหาค่า Ksoil จาก BORING LOG จริงๆ ให้แก่เพื่อนๆ ได้ดูนะครับ จากรูป ตย นะครับ ผมจะสมมติว่าในโครงการก่อสร้างนี้มีมาตรฐานการทำงานที่ถือว่าทั่วๆ ไป การควบคุมการทำงานจะค่อนไปในทางที่ดี เราต้องทำการออกแบบให้เสาเข็มสี่เหลี่ยมจตุรัส … Read More

การคำนวณการประมาณการขนาดหน้าตัดของคานสำหรับโครงสร้างรับแรงดัดเมื่อต้องใช้กับโครงสร้างที่มีลักษณะเป็น LONG SPAN

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมายก ตย การคำนวณการประมาณการขนาดหน้าตัดของคานสำหรับโครงสร้างรับแรงดัดเมื่อต้องใช้กับโครงสร้างที่มีลักษณะเป็น LONG SPAN ให้แก่เพื่อนๆ เพื่อดูเป็นแนวทางกันนะครับ โดยวิธีการที่ผมนำมายก ตย จะอยู่ในหัวข้อที่ (3) ในโพสต์เมื่อวานนะครับ ก็คือเราใช้วิธีการโมเมนต์ความเฉือยเทียบเท่า หรือ EQUIVALENT MOMENT OF INERTIA … Read More

ค่าการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ทางด้านข้าง หรือ LATERAL STORY DRIFT

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าให้เพื่อนๆ ได้รับฟังถึงค่าๆ หนึ่งซึ่งเป็นค่าพารามิเตอร์ที่สำคัญซึ่งเรานิยมนำมาใช้พิจารณาในงานออกแบบอาคารเพื่อต้านทานแรงกระทำจากแผ่นดินไหวนะครับ ค่าๆ นี้ก็คือ ค่าการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ทางด้านข้าง หรือ LATERAL STORY DRIFT ค่าการเคลื่อนตัวสัมพัทธ์ทางด้านข้าง หรือ LATERAL STORY DRIFT สามารถหาได้จากการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยวิธีใดๆ ก็แล้วแต่ตามที่ผมได้อธิบายในโพสต์ก่อนหน้านี้นะครับ จากนั้นนำค่าการเคลื่อนตัวทางด้านข้าง … Read More

การประมาณค่าเพื่อตรวจสอบจำนวนเสาเข็มที่เราจะใช้ในโครงสร้างบ้านหรืออาคาร

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน เนื่องจากในวันนี้ผมได้รับข้อความจากเพื่อนรักสมัยเรียนท่านหนึ่งสอบถามผมมาว่า หากเราจะตรวจสอบจำนวนเสาเข็มที่ได้รับการออกแบบมาว่ามีความถูกต้องเหมาะสมมากน้อยขนาดไหน เราจะมีวิธีการอย่างไร ? วันนี้ผมจึงจะมาให้คำแนะนำในการประมาณค่าเพื่อตรวจสอบจำนวนเสาเข็มที่เราจะใช้ในโครงสร้างบ้านหรืออาคารของเรากันนะครับ จริงๆ วิธีในการประมาณค่าจำนวนเสาเข็มที่จะใช้ในอาคารหนึ่งๆ จะสำคัญที่หน่วย นน ใช้งานต่อ พท ของอาคารนั่นเองครับ ซึ่งค่าๆ นี้จะรวมถึง นน บรรทุกคงที่ เช่น นน … Read More

ประเภทของดิน คุณสมบัติและมีความแตกต่าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน ผมเข้าใจว่าเนื่องจากเมื่อโพสต์ที่แล้วของผมนั้นเกี่ยวข้องกับงานธรณีเทคนิคจึงมีเพื่อนวิศวกรท่านหนึ่งหลังไมค์มาสอบถามผมเกี่ยวกับเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ต่อเพื่อนๆ ทุกคนเลยนำมาแชร์ให้กับเพื่อนๆ ด้วยนะครับ เรื่องนั้นก็คือประเภทของดินว่ามีกี่ชนิด และ แต่ละชนิดว่ามีคุณสมบัติอะไรที่โดดเด่นและมีความแตกต่างกันอย่างไรนะครับ ผมขอตอบแบบนี้นะครับ ลักษณะของดินสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ โดยลักษณะความแตกต่างกันของดินทั้ง 2 ประเภทนี้ก็คือ ขนาดของเม็ดดิน และ คุณสมบัติของค่า c … Read More

วิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์สถานะของความสมดุลในโครงสร้าง

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกๆ ท่าน วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังถึงวิธีและขั้นตอนการวิเคราะห์สถานะของความสมดุลในโครงสร้างใดๆ เราสามารถที่จะทำได้ไม่ยากมากนักนะครับ ผมจึงนำมาฝากเพื่อนๆ ในวันนี้ครับ การตรวจสอบสถานะของความสมดุลเราสามารถทำได้โดยการ FORMULATE สมการ POTENTIAL ENERGY หรือเรียกง่ายๆ ว่าสมการ V ของระบบออกมาก่อนนะครับ โดยที่เราจะให้ GENERALIZED COORDINATE ของระบบติดอยุ่ในรูปแบบตัวแปรที่เราสนใจ เช่น … Read More

ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระยะยาวในคอนกรีตทั่วๆ ไป หรือ LONG TERM MODULUS OF ELASTICITY IN NORMAL CONCRETE

สวัสดีครับแฟนเพจที่รักทุกท่าน เรื่องที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ก็คือ ค่าโมดูลัสยืดหยุ่นระยะยาวในคอนกรีตทั่วๆ ไป หรือ LONG TERM MODULUS OF ELASTICITY IN NORMAL CONCRETE นั่นเองครับ (รูปที่ 1) ก่อนอื่นผมต้องขอท้าวความก่อนนะครับว่าเวลาที่ผมพิจารณาออกแบบโครงสร้าง คสล ที่มีความยาวช่วงมากๆ ที่มีการรับ … Read More

1 21 22 23 24 25 26 27 33