ข้อมูลและตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด

ข้อมูลและตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัด เริ่มต้นดูรูปที่แสดงตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในพื้นที่ต่างจังหวัดกันก่อนนะครับ หากเพื่อนๆ สังเกตดูดีๆ จะพบว่าช่องที่แสดงค่า ความลึกของหลุมเจาะ ในตารางๆ นี้จะมีความแตกต่างออกไปจากตารางที่แสดงความลึกของหลุมเจาะที่ใช้เป็นแนวทางสำหรับการเจาะสำรวจชั้นดินในเขตพื้นที่ กทม และ ปริมณฑล ที่เคยนำมาเล่าให้ฟังก่อนหน้านี้นะครับ โดยที่ในช่องๆ นี้ของตารางที่แสดงนี้จะไมได้แสดงค่าความลึกของหลุมเจาะตรงๆ แต่ กลับแสดงว่าระยะนี้จะมีค่าเท่ากับระยะความลึกที่เมื่อทำการทดสอบ SPT เพื่อที่จะหาค่า N VALUE … Read More

ค่ากำลังส่วนเกินของวัสดุเหล็กที่มีการใช้งาน

ค่ากำลังส่วนเกินของวัสดุเหล็กที่มีการใช้งาน ผมอยากที่จะขออนุญาตย้อนความถึงเรื่องพฤติกรรมของจุดต่อภายในโครงสร้าง คสล ก่อนนะครับ ภายใต้น้ำหนักบรรทุกในแนวดิ่ง จุดต่อมักไม่ค่อยจะรับแรงอะไรมากมายนัก เพราะ โมเมนต์ดัดที่ปลายคานทั้งสองด้านของจุดต่อมีทิศตรงกันข้ามกัน (เป็นโมเมนต์ลบด้วยกันทั้งคู่) ดังนั้นจึงมีการถ่ายเท UNBALANCED MOMENT เข้าไปในจุดต่อที่ถือว่าไม่มากมายนัก ในทางตรงกันข้าม เมื่อมีแรงกระทำทางด้านข้างกระทำต่อโครงข้อแข็ง จุดต่อระหว่างเสาและคานจะเป็นบริเวณที่มีการถ่ายแรงสูงมากๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะโมเมนต์ดัดที่ปลายคานทั้งสองด้านของจุดต่อนี้จะมีทิศเดียวกัน ดังนั้นจึงทำให้เกิด UNBALANCE MOMENT … Read More

รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก

รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก เนื่องจากในฐานราก F1 นั้นพฤติกรรมต่างๆ ของฐานรากจะเกิดไม่ซับซ้อนเหมือนฐานรากประเภทอื่นๆ ผมจึงไม่ได้นำเสนอไว้ในโพสต์ก่อนหน้านี้ แต่ ลักษณะของ F1 นี้จะมีลักษณะเด่นในตัวเองแตกต่างออกไปจากประเภทของฐานรากชนิดอื่นๆ อยู่หลายประการ เช่น ผลของการเยื้องศูนย์ของเสาเข็มในฐานราก F1 จะส่งผลทางด้านกำลังและเสถียรภาพของตัวฐานรากและตอม่อที่มากกว่าฐานรากประเภทอื่นๆ (โดยในประเด็นนี้ผมได้นำเสนอไปแล้วในการโพสต์ที่ผ่านมา) และ เหล็กเสริมที่จะทำหน้าที่เด่นๆ ในฐานราก F1 … Read More

รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก

รูปแบบของการวางแนวเหล็กเสริมในฐานราก เมื่อเราทำการออกแบบปริมาณเหล็กเสริมในฐานรากตามกรณีปกติทั่วๆ ไป เช่น BALANCE METHOD เป็นต้น เพื่อที่จะให้เหล็กเสริมเหล่านี้ไปทำหน้าที่ในการต้านทานการเกิดโมเมนต์ดัดในฐานราก หรือ ต้านทานการหดตัวในฐานรากก็ตามแต่ มาตรฐาน ACI ได้ทำการอนุญาตให้เราสามารถทำการกระจายเหล็กเสริมเหล่านี้อย่างสม่ำเสมอในหน้าตัดได้ ซึ่งรวมไปถึงกรณีที่เราได้ทำการออกแบบฐานรากโดยวิธีพิเศษก็ตาม เช่น STRUT AND TIE METHOD หรือ … Read More

จะมีวิธีหรือแนวทางในการที่เราจะทราบได้อย่างไร ว่าทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดว่าลักษณะของฐานรากให้เป็น แบบยึดหมุน (HINGED) หรือเป็นแบบ ยึดแน่น (FIXED)

จะมีวิธีหรือแนวทางในการที่เราจะทราบได้อย่างไร ว่าทางผู้ออกแบบได้ทำการกำหนดว่าลักษณะของฐานรากให้เป็น แบบยึดหมุน (HINGED) หรือเป็นแบบ ยึดแน่น (FIXED) หากเราต้องการที่จะออกแบบให้ลักษณะของฐานรากนั้นเป็น แบบยึดหมุน หรือ แบบยึดแน่น สิ่งที่เรามักจะต้องนำมาคำนึงถึงเป็นหลักเลยก็คือโครงสร้างนั้นๆ มีความจำเป็นที่จะต้องรับแรงกระทำทางด้านข้าง มาก หรือ น้อย เพียงใด ? สาเหตุที่ผมเอ่ยเช่นนี้ เพราะ … Read More

การแก้ไขงานวิศวกรรมฐานราก

การแก้ไขงานวิศวกรรมฐานราก หากทำการตอกเสาเข็มในฐานรากที่ใช้เสาเข็มจำนวน 2 ต้น (F2) แล้วเสาเข็มต้นใดต้นหนึ่งเกิดเสียหายไป จะทำการแก้ไขโดยการหมุนฐานรากในระนาบ 90 องศา ได้เลยหรือไม่ครับ ? ผมขอตอบแบบนี้นะครับ คือ ได้ และ ไม่ได้ ครับ งง มั้ยครับว่าเหตุใดผมจึงตอบเช่นนี้ ? … Read More

การจัดลำดับการตอกเสาเข็ม หรือ PILING SEQUENCE

การจัดลำดับการตอกเสาเข็ม หรือ PILING SEQUENCE การจัดผังลำดับของการตอกเสาเข็มนั้นมีประโยชน์มากนะครับ ทั้งต่อตัว เสาเข็ม เองและต่อตัว ปั้นจั่นด้วยนะครับ เช่น ต่อตัวเสาเข็ม สำหรับงานอาคารสูง หากเราทำการจัดลำดับของการตอกเสาเข็มให้ดีๆ จะพบว่าสามารถช่วยเรื่องการที่เสาเข็มจะเกิดการ หนีศูนย์ (PILE DEVIATE) ได้เยอะมาก เนื่องจากในโครงการหนึ่งๆ จำนวนเสาเข็มที่ใช้นั้นมีปริมาณที่ค่อนข้างมากอยู่ … Read More

ทิศทางในการวางหน้าตัดของเสาเข็มที่ถูกต้อง

ทิศทางในการวางหน้าตัดของเสาเข็มที่ถูกต้อง สำหรับ ทิศทางในการวางหน้าตัดของเสาเข็มที่ถูกต้อง นั้นผมต้องขออธิบายเสียก่อนนะครับปัญหาจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ (1) หน้าตัดของเสาเข็มของเรานั้นเป็นแบบ ไม่สมมาตรใน แกนใดแกนหนึ่ง หรือ ทุกๆ แกน เช่น เสาเข็มหน้าตัดรูปตัวไอ เสาเข็มหน้าตัดรูปตัวที เป็นต้นครับ (2) ข้อกำหนด หรือ TOR ที่ได้ให้ไว้ในรายละเอีดยของการก่อสร้างนั้นได้ทำการระบุเอาไว้ว่าจ … Read More

BRACING

วิศวกรออกแบบหลายๆ ท่านมักจะลืมเวลาที่ทำการออกแบบโครงหลังคา TRUSS เหล็ก นั่นก็คือเรื่อง BRACING นั่นเองครับ หากพิจารณาถึงเนื้อที่หน้าตัดของโครงสร้างที่มีขนาดเท่าๆ กันระหว่างวัสดุ คอนกรีต และ เหล็ก จะพบว่าวัสดุคอนกรีตนั้นจะมีความแข็งแรงที่น้อยกว่าโครงสร้างเหล็กอยู่ประมาณ 10 เท่านะครับ ดังนั้นหากเราทำการออกแบบโครงสร้างด้วยวัสดุที่เป็นเหล็ก เราจะพบว่าชิ้นส่วนของโครงสร้างที่ใช้ในองค์อาคารของเราจะมีขนาดที่ค่อนข้างเล็ก ทำให้โครงสร้างเหล็กนั้นจะมีสัดส่วนที่ค่อนข้างจะมีความชะลูดที่มากกว่าโครงสร้างคอนกรีต ทำให้หากเราเลือกใช้วัสดุของโครงสร้างที่ทำจากเหล็ก ก็จะทำให้ตัวโครงสร้างที่ทำจากเหล็กนั้นมีโอกาสที่จะวิบัติเนื่องจากการที่ตัวโครงสร้างนั้นเกิดการสูญเสียเสถียรภาพที่สูงกว่าการที่เราเลือกใช้วัสดุที่เป็นคอนกรีตนะครับ … Read More

การวิเคราะห์และการประเมินโครงสร้างโครงข้อแข็ง (RIGID FRAME)

การวิเคราะห์และการประเมินโครงสร้างโครงข้อแข็ง (RIGID FRAME) โดยสมมติฐานของการวิเคราะห์โครงข้อแข็งนั้นก็เกือบที่จะเหมือนกับโครงสร้าง โครงถัก และ โครงสร้างคาน ก่อนหน้านี้นะครับ คือ ถึงแม้ว่าโครงสร้างโครงข้อแข็งนั้นจะเป็นโครงสร้างที่ประกอบไปด้วยโครงสร้าง เสา และ คาน ที่จะต้องรับแรงดัดเป็นหลัก แต่ ตัวโครงสร้าง เสา และ คาน ดังกล่าวจะมีเสถียรภาพอยู่ได้นั้นจำเป็นที่จะต้องสามารถต้านทานต่อโมเมนต์ดัดที่เกิดขึ้นภายใน … Read More

1 28 29 30 31 32 33